วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

พัฒนาการของแบบจำลองระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (solar system) 

ระบบสุริยะถือกำเนิดขึ้นจากการแตกสลายด้วยแรงโน้มถ่วงภายในของเมฆโมเลกุลขนาดยักษ์เมื่อกว่า 4,600 ล้านปีมาแล้ว เมฆต้นกำเนิดนี้มีความกว้างหลายปีแสง และอาจเป็นต้นกำเนิดของดาวฤกษ์อื่นอีกจำนวน ระบบสุริยะประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่นๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ เนื่องจากแรงโน้มถ่วงได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวาร ดาวเคราะห์แคระ วัตถุท้องฟ้าอีกนับล้าน ซึ่งรวมถึงดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นละอองดาวเคราะห์




ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

ดาวพุธ (Mercury)

เป็นดาวเคราะห์วงในสุดของระบบสุริยะที่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งเร็วที่สุด มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์สั้นมากเพียง 88 วัน ทำให้การเปลี่ยนตำแหน่งของดาวพุธจากซีกหนึ่งของดวงอาทิตย์ไปอีกซีกหนึ่งใช้เวลาเพียง 44 วัน หรือราวเดือนครึ่ง


ดาวศุกร์ (Venus)

เป็นดาวเคราะห์วงใน เราจะเห็นได้เพียงทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกหรือตะวันตกเท่านั้นแบบเดียวกับดาวพุธ มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 224 วันครึ่ง หรือราว 7 เดือนครึ่งน้อยกว่าโลก ทำให้การเปลี่ยนตำแหน่งจากซีกด้านหนึ่งของดวงอาทิตย์ไปอีกซีกด้สนหนึ่งนั้นค่อนข้างนาน เมื่อเทียบกับตำแหน่งของโลก ใช้เวลาประมาณ 9 เดือนครึ่ง ทำให้ใน 1 รอบปี ดาวศุกร์มีการเปลี่ยนตำแหน่งน้อยครั้งกว่าดาวพุธ ทำให้เราเห็นดาวศุกร์อยู่บนขอบฟ้าแต่ละด้านได้นาน
ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่สว่างอันดับหนึ่งบนท้องฟ้า ถ้ามองเห็นก่อนรุ่งเช้า เรียกว่า ดาวประกายพรึก (morning star) ถ้ามองเห็นหลังอาทิตย์ตก เรียกว่า ดาวประจำเมือง (evening star)


ดาวอังคาร (Mars)

ดาวเคราะห์วงนอกดวงแรกที่อยู่ถัดจากโลกไป มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 ปี 11 เดือน ทำให้ตำแหน่งของดาวอังคารเปลี่ยนกลุ่มดาวไปเรื่อยๆ จึงมีโอกาสเห็นดาวอังคารตามแนวเส้นสุริยะวิถีตลอดแนวจากขอบฟ้าตะวันออกไปขอบฟ้าตะวันตก ต่างจากดาวพุธและดาวศุกร์ที่จะเห็นได้แค่เพียงขอบฟ้าเท่านั้น

ดาวพฤหัสบดี (Jupiter)

ดาวเคราะห์ยักษ์ใหญ่ มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ เวลา 11 ปี 11 เดือน หรือประมาณ 12 ปี ทำให้ดาวพฤหัสบดีมีการเปลี่ยนตำแหน่งไปอย่างช้าๆปีละ 1 ราตรี


ดาวเสาร์ (Saturn)

เป็นดาวเคราะห์ดวงสุดท้ายที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์นาน 29.5 ปี จึงมีการเปลี่ยนตำแหน่งในกลุ่มดาวจักรราศีอย่างช้าประมาณ 2 ปี ต่อจักรราศี ขึ้นอยู่กับเขตอาณาจักรราศีกว้างแค่ไหน






ดาวยูเรนัส (Uranus)

หรือดาวมฤตยู เป็นดาวเคราะห์อันดับ 7 ของระบบสุริยะ ซึ่งมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 84 ปี ซึ่งดาวยูเรนัสมีการเปลี่ยนตำแหน่งจักรราศี 1 ราศีใช้เวลาประมาณ 7 ปีโดยเฉลี่ย









ดาวเนปจูน (Neptune)

หรือดาวสมุทรซึ่งคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 165 ปี จึงมีการเปลี่ยนตำแหน่งจักรราศีช้ามาก คือ ประมาณ 14 ปี ต่อ 1 ราศี ดาวเนปจูนมองเห็นได้ลำบากต้องใช้กล้องดูดาวที่มีขนาดตั้งแต่ 6 นิ้วขึ้นไป และต้องรู้ตำแหน่งที่แน่นอนด้วย





ปรากฏการณ์โลกร้อน (global warming)

ปรากฏการณ์โลกร้อน หมายถึง การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำในมหาสมุทร โดยมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สเรือนกระจกอื่นๆ เป็นตัวการกักเก็บความร้อนจากแสงอาทิตย์ไว้ไม่ให้คายออกไปสู่บรรยากาศ สาเหตุหลักของปัญหานี้มาจาก แก๊สเรือนกระจก (greenhouse effect) ปรากฎการณ์เรือนกระจกมีความสำคัญกับโลก เพราะแก๊สจำพวกคาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทนจะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในโลกไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้คล้ายกับหลักการของเรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฎการณ์เรือนกระจก (greenhouse effect) เมื่ออุณหภูมิของบรรยากาศโลกสูงขึ้น ผืนน้ำแข็งบริเวณขั่วโลกและธารน้ำแข็งบนภูเขาทั้งหมดทั่วโลกจะค่อยๆละลายลงเรื่อยๆ และอาจจะทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นทุกปี

         แนวทางหนึ่งของการลดปริมาณการผลิตแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์ คือ ลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น เช่น พลังงานชีวมวล พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานนิวเคลียร์
         สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อนเกิดจากการกระทำของมนุษย์และทางธรรมชาติ เช่น การใช้พลังงานต่างๆ ของมนุษย์ในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ





ปรากฏารณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากโลก ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์

กลางวันและกลางคืน

ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ โลกจะโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปด้วย ทำให้ซีกโลกหนึ่งที่ได้รับแสงอาทิตย์เกิดเป็นเวลากลางวัน ส่วนอีกซีกโลกหนึ่งที่ไม่ได้รับแสงอาทิตย์เกิดเป็นเวลากลางคืน เป็นระยะเวลา 12 ชั่วโมงเท่ากัน ดังนั้นการหมุนรอบตัวเองของโลก 1 รอบ ใช้เวลา 24 ชั่วโมง หรือ 1 วัน

ฤดูกาล

การโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเกิดขึ้นตลอดเวลา ขณะเดียวกันโลกก็หมุนรอบตัวเอง โดยหมุนจากตะวันออกไปตะวันตก การโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกทำให้บริเวณต่างๆได้รับแสงและความร้อนไม่เท่ากัน ทำให้เกิดฤดูกาลกาลสลับกันใน 1 ปี


น้ำขึ้น-น้ำลง

มีสาเหตุมาจากแรงดึงดูดระหว่างมวลของดวงจันทร์และโลก น้ำขึ้นจะเกิดบริเวณที่มีตำแหน่งใกล้ดวงจันทร์ ส่วนน้ำลงเกิดบริเวณที่มีพื้นที่ตั้งฉากกับตำแหน่งของดวงจันทร์ 

อุปราคา

เกิดจากดวงจันทร์หรือโลกบังทางเดินของแสงดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดเงาปรากฏที่โลกหรือดวงจันทร์ 


ข้างขึ้นข้างแรม

เป็นปรากฏการณ์ที่คนบนโลกมองเห็นดวงจันทร์มีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละคืน ซึ่งเกิดจากการที่ดวงจันทร์โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์จะหันด้านเดียวเข้าหาดวงอาทิตย์และสะท้อนแสงอาทิตย์มายังโลก 

  


วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ดาวเคราะห์

ดาวเคราะห์ (planet) คือวัถุขนาดใหญ๋ที่โคจรรอบดาวฤกษ์
ดาวเคราะห์ที่อยู่ในระบบสุริยะมีอยู่ 8 ดวง เรียงตามระยะห่างจากดวงอาทิตย์ ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน (ในอดีตมี 9 ดวง รวมดาวพลูโตด้วย) ปัจจุบันเรารู้จักดาวเคราะห์ใหม่อีกมากกว่า 100 ดวง ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบ หมายถึง โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้นมาจาการยุบตัวลงของกลุ่มฝุ่นและแก๊ส พร้อมๆกับการก่อกำเนิดดวงอาทิตย์ที่ตรงใจกลาง ดาวเคราะห์นั้นไม่มีแสงสว่างในตัวเอง แต่สามารถมองเห็นได้เนื่องจากพื้นผิวสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ที่อยู่ในระบบสุริยะมีดาวบริวารโคจรโดยรอบ ยกเว้นดาวพุธและดาวศุกร์ และสามารถพบระบบวงแหวนได้ในดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ อย่างเช่น ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน แต่มีเพียงดาวเสาร์เท่านั้นที่สามารถมองเห็นวงแหวนได้ชัดเจนโดยใช้กล้องโทรทรรศน์